อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย
วัฒนธรรมไทยมีรากฐานมาจากพุทธศาสนา
เป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทยทุกคนที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทย
ถือเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติไทยที่แตกต่างจากชาติอื่น
มีลักษณะเฉพาะที่แสดงชี้ชัดถึงความเป็นไทย เช่น ภาษา
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสดงออกมาทางพิธีกรรม ศิลปะแขนงต่างๆ
บุคลิกภาพของคนไทยที่รักสงบ อ่อนน้อมถ่อมตน มีน้ำใจ จนได้รับความชื่นชมจากต่างชาติ
ถึงแม้วัฒนธรรมไทยจะมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมต่างชาติตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน
แต่ก็ได้เลือกสรรเอาสิ่งที่ดีมาใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย
ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติที่มีพระมหากษัตริย์ ศาสนา ศิลปกรรม ภาษา
อาหาร การแต่งกาย ฯลฯ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ปัจจัยที่มีผลต่อวัฒนธรรม
ปัจจัยที่เกื้อหนุนวัฒนธรรม
1. สอดคล้องหรือเข้ากับความประพฤติที่มีอยู่เดิม
2. อิทธิพลของศาสนา คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อคนไทยมาก
3. การเห็นคุณประโยชน์ หากประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าทำแล้วได้ประโยชน์ ประชาชนจะรักษาและปฏิบัติตามวัฒนธรรมนั้นๆ
4. กลุ่มผลประโยชน์ เป็นกลุ่มที่ต้องรักษาวัฒนธรรมของตน บุคคลเหล่านี้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นของดีอยู่แล้ว จึงพยายามส่งเสริมและคัดค้านการเปลี่ยนแปลงใดๆที่ทำลายวัฒนธรรมที่ตนเห็นว่าดี และจะสนับสนุนส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้วัฒนธรรมที่ตนส่งเสริมนั้นดีขึ้น
ปัจจัยที่เกื้อหนุนวัฒนธรรม
1. สอดคล้องหรือเข้ากับความประพฤติที่มีอยู่เดิม
2. อิทธิพลของศาสนา คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อคนไทยมาก
3. การเห็นคุณประโยชน์ หากประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าทำแล้วได้ประโยชน์ ประชาชนจะรักษาและปฏิบัติตามวัฒนธรรมนั้นๆ
4. กลุ่มผลประโยชน์ เป็นกลุ่มที่ต้องรักษาวัฒนธรรมของตน บุคคลเหล่านี้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นของดีอยู่แล้ว จึงพยายามส่งเสริมและคัดค้านการเปลี่ยนแปลงใดๆที่ทำลายวัฒนธรรมที่ตนเห็นว่าดี และจะสนับสนุนส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้วัฒนธรรมที่ตนส่งเสริมนั้นดีขึ้น
5. ตัวแทนของวัฒนธรรม
6. สภาพทางเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจรุ่งเรือง ไม่ขาดแคลน คนจะมีจิตใจสบาย ความปกติสุขจะเกิดขึ้น คนจะอยู่อย่างสงบหรือพยายามอยู่ให้ดีขึ้น โดยสิ่งใดดีมักจะรับไว้วัฒนธรรมจึงดำรงอยู่ได้ และอาจมีวัฒนธรรมที่ใหม่และดียิ่งขึ้น
6. สภาพทางเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจรุ่งเรือง ไม่ขาดแคลน คนจะมีจิตใจสบาย ความปกติสุขจะเกิดขึ้น คนจะอยู่อย่างสงบหรือพยายามอยู่ให้ดีขึ้น โดยสิ่งใดดีมักจะรับไว้วัฒนธรรมจึงดำรงอยู่ได้ และอาจมีวัฒนธรรมที่ใหม่และดียิ่งขึ้น
ปัจจัยที่บั่นทอนวัฒนธรรม
1. ความรู้สึกหรืออารมณ์ เป็นความรู้สึกผูกพันกับสิ่งเก่าๆ ความเคยชิน
2. กลุ่มผลประโยชน์ เป็นกลุ่มที่ต่อต้านวัฒนธรรมใดก็ตามที่ทำให้ตนเสียผลประโยชน์
3. ทัศนคติ หรือเจตคติ แม้จะเห็นว่าวัฒนธรรมนั้นดี แต่ไม่เต็มใจรับเพราะเห็นว่ายุ่งยากลำบากหรือไม่คุ้นเคย
4. การไม่เห็นคุณประโยชน์ของวัฒนธรรม เพราะไม่เห็นผลทันตา
5. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
6. สภาพทางเศรษฐกิจ สภาพความแร้นแค้นยากจนก่อให้เกิดปัญหาเสื่อมโทรมทางด้านศีลธรรม
ที่มา:http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=greenbangle&month=09-2011&date=07&group=1&gblog=1
1. ความรู้สึกหรืออารมณ์ เป็นความรู้สึกผูกพันกับสิ่งเก่าๆ ความเคยชิน
2. กลุ่มผลประโยชน์ เป็นกลุ่มที่ต่อต้านวัฒนธรรมใดก็ตามที่ทำให้ตนเสียผลประโยชน์
3. ทัศนคติ หรือเจตคติ แม้จะเห็นว่าวัฒนธรรมนั้นดี แต่ไม่เต็มใจรับเพราะเห็นว่ายุ่งยากลำบากหรือไม่คุ้นเคย
4. การไม่เห็นคุณประโยชน์ของวัฒนธรรม เพราะไม่เห็นผลทันตา
5. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
6. สภาพทางเศรษฐกิจ สภาพความแร้นแค้นยากจนก่อให้เกิดปัญหาเสื่อมโทรมทางด้านศีลธรรม
ที่มา:http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=greenbangle&month=09-2011&date=07&group=1&gblog=1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น