วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ดนตรีไทยกับวัยรุ่นไทย

ดนตรีไทยกับวัยรุ่นไทย
ดนตรีไทยหลายท่านคิดคล้ายกันว่าเป็นเรื่องล้าสมัย เป็นเพียงเครื่องประกอบในงานพิธี หรือเป็นเอกสิทธิ์ความบันเทิงของคนรุ่นเก่าที่เข้ากันได้ยากกับดนตรีสากลตามรูปแบบของอารยธรรมตะวันตก แม้กระแสโลกาภิวัตน์จะเป็นเหตุให้วัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยอย่างไร้ขีดจำกัด พฤติกรรมการบริโภคดนตรีของคนส่วนใหญ่เปลี่ยนไป
บางคนอาจคิดว่าดนตรีไทยเปรียบเสมือนวัฒนธรรมที่ (ใกล้) ตายแล้วก็ตาม



ที่มา:http://swis-acn.acn.ac.th/html_edu/cgi-bin/acn/main_php/print_informed.php?id_count_inform=223

วัฒนธรรมชาตินิยมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมชาตินิยมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
ด้วยลักษณะของอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกที่แฝงมาในรูป ต่างๆ ตามสื่อมวลชนภาพยนตร์ ซึ่งเราบริโภคอยู่จนคิดว่าเป็นวัฒนธรรมสากล จนหลงไปว่าเป็นอารยะธรรม จนทำให้เราหลงลืมภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ดีงามไป และมีอิทธิพลต่อวิธีคิดวิธีทำงานของพวกเราเป็นอย่างมาก จนยากที่จะถอนออกไปได้

ตัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
1. ด้านการทหาร เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้ มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก เช่น ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำ ปรึกษาด้านการทหาร มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก
2. ด้านการศึกษา ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง เช่น พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่ ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่ ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนกฎหมาย ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ด้านวิทยาการ เช่น ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถ คำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย ในปัจจุบัน
4. ด้านแนวคิดแบบตะวันตก การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง เช่นประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นอกจากนี้ วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์ จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย เช่น การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย เช่น งานเขียนของดอกไม้สด ศรีบูรพา

5. ด้านวิถีการดำเนินชีวิต การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก การปลูกสร้างพระราชวัง อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ เข้ามาเผยแพร่ เป็นต้น


ที่มา:http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=greenbangle&month=09-2011&date=07&group=1&gblog=1

วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย

วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคน ไทย เช่น สุโขทัย ล้านนา ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เพื่อนบ้าน เช่น เขมร มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาวต่างชาติ การทูต และการทำสงคราม
สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
1. ด้านอักษรศาสตร์ เช่น ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม รับภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จากอินเดีย เขมร นอกจากนี้ ในปัจจุบันภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทย มากขึ้น
2. ด้านกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย ได้แก่ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
3. ด้านศาสนา พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ เช่น ทวารวดี หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา หรือสุโขทัย รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา นอกจากนี้ คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่ รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัย อยุธยาเป็นต้นมา
4. ด้านวรรณกรรม ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์ มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย เรื่องอิเหนาจากชวา ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน เช่น สามก๊ก ไซอิ๋ว วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น ราชาธิราชของชาวมอญ อาหรับราตรีของเปอร์เซีย เป็นต้น
5. ด้านศิลปวิทยาการ เช่น เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคมโลกมาจากช่างชาวจีน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ศรีลังกา
6. ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต เช่น คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด การใช้กระทะ การใช้น้ำมันจากจีน ในด้านการแต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย เป็นต้น



ที่มา:http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=greenbangle&month=09-2011&date=07&group=1&gblog=1

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม แยกเป็นด้านต่าง ๆ นี้
1. ทางการศึกษา วัฒนธรรมขอมอินเดีย เข้ามามีอิทธิพลในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
- ภาษาตะวันตก เริ่มเข้าสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษคิดตัวพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
- รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฎิรูปการศึกษาและสังคม มีการตั้งกระทรวงธรรมการ เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่นั้นมา
- ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยยึดหลักแนวทางจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งด้านปรัชญาการศึกษา เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน ส่วนวิทยาการสมัยใหม่ ในวงการศึกษาของไทยรับมาจาก ตะวันตกเป็นส่วนใหญ่
2. ทางการเมือง
- สมัยสุโขทัยการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก
- สมัยกรุงศรีอยุธยา รับอิทธิพลจากขอมและอินเดีย เป็นแบบลัทธิเทวราช กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ (ข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย)
- สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสภาที่ปรึกษา นับเป็นการเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย จนกระทั่งปีพ.ศ. 2475 จึงเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศในยุโรป
3. ทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด
4. ทางสังคมและวัฒนธรรม อิทธิพลจากต่างชาติทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจมีความอบอุ่นน้อยลง มีการชิงดีชิงเด่น ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบ ทุติยภูมิ

ที่มา:http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=greenbangle&month=09-2011&date=07&group=1&gblog=1

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย

วัฒนธรรมไทยมีรากฐานมาจากพุทธศาสนา เป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทยทุกคนที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทย ถือเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติไทยที่แตกต่างจากชาติอื่น มีลักษณะเฉพาะที่แสดงชี้ชัดถึงความเป็นไทย เช่น ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสดงออกมาทางพิธีกรรม ศิลปะแขนงต่างๆ บุคลิกภาพของคนไทยที่รักสงบ อ่อนน้อมถ่อมตน มีน้ำใจ จนได้รับความชื่นชมจากต่างชาติ ถึงแม้วัฒนธรรมไทยจะมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมต่างชาติตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน แต่ก็ได้เลือกสรรเอาสิ่งที่ดีมาใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติที่มีพระมหากษัตริย์ ศาสนา ศิลปกรรม ภาษา อาหาร การแต่งกาย ฯลฯ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ปัจจัยที่มีผลต่อวัฒนธรรม

ปัจจัยที่เกื้อหนุนวัฒนธรรม
1. สอดคล้องหรือเข้ากับความประพฤติที่มีอยู่เดิม
2. อิทธิพลของศาสนา คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อคนไทยมาก
3. การเห็นคุณประโยชน์ หากประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าทำแล้วได้ประโยชน์ ประชาชนจะรักษาและปฏิบัติตามวัฒนธรรมนั้นๆ
4. กลุ่มผลประโยชน์ เป็นกลุ่มที่ต้องรักษาวัฒนธรรมของตน บุคคลเหล่านี้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นของดีอยู่แล้ว จึงพยายามส่งเสริมและคัดค้านการเปลี่ยนแปลงใดๆที่ทำลายวัฒนธรรมที่ตนเห็นว่าดี และจะสนับสนุนส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้วัฒนธรรมที่ตนส่งเสริมนั้นดีขึ้น

5. ตัวแทนของวัฒนธรรม
6. สภาพทางเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจรุ่งเรือง ไม่ขาดแคลน คนจะมีจิตใจสบาย ความปกติสุขจะเกิดขึ้น คนจะอยู่อย่างสงบหรือพยายามอยู่ให้ดีขึ้น โดยสิ่งใดดีมักจะรับไว้วัฒนธรรมจึงดำรงอยู่ได้ และอาจมีวัฒนธรรมที่ใหม่และดียิ่งขึ้น


ปัจจัยที่บั่นทอนวัฒนธรรม
1. ความรู้สึกหรืออารมณ์ เป็นความรู้สึกผูกพันกับสิ่งเก่าๆ ความเคยชิน
2. กลุ่มผลประโยชน์ เป็นกลุ่มที่ต่อต้านวัฒนธรรมใดก็ตามที่ทำให้ตนเสียผลประโยชน์
3. ทัศนคติ หรือเจตคติ แม้จะเห็นว่าวัฒนธรรมนั้นดี แต่ไม่เต็มใจรับเพราะเห็นว่ายุ่งยากลำบากหรือไม่คุ้นเคย
4. การไม่เห็นคุณประโยชน์ของวัฒนธรรม เพราะไม่เห็นผลทันตา
5. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
6. สภาพทางเศรษฐกิจ สภาพความแร้นแค้นยากจนก่อให้เกิดปัญหาเสื่อมโทรมทางด้านศีลธรรม



ที่มา:http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=greenbangle&month=09-2011&date=07&group=1&gblog=1

การบริโภคอาหารของวัยรุ่น

การบริโภคอาหารของวัยรุ่น
10 อันดับขนมที่วัยรุ่นนิยมรับประทาน
1.       เมนูมันฝรั่ง  มันฝรั่งทอดเป็นของกินเล่นที่คนไทยคุ้นลิ้นมานาน ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็เทใจให้มันฝรั่งทอดกันหมด และมันฝรั่งเองก็เป็นวัตถุดิบที่นำมาทำเป็นอาหารว่างได้หลายแนว

2.       แซนด์วิช  หลายคนเลือกแซนด์วิชเป็นเมนูอิ่มท้องแทบทุกวัน โดยเฉพาะหากขายตั้งแต่เช้าตรู่ได้ และมีแซนด์วิชหลาย ๆ แบบให้ลูกค้าเลือก โดยเมนูแซนด์วิชก็มีส่วนประกอบไม่ซับซ้อน วิธีทำก็ไม่ยุ่งยาก ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เยอะ และที่สำคัญไม่เน้นฝีมือการทำอาหารเท่าไร เพราะเรามีตัวช่วยเป็นแซนด์วิชเบรดนั่นเอง ดังนั้นเน้นแค่ความสด สะอาดของวัตถุดิบก็น่าจะพอได้ 

3.       ขนมปังปิ้ง  ยังวนอยู่กับเมนูขนมปัง เพราะต้องยอมรับจริง ๆ ว่าความหอมกรุ่นและเนื้อนุ่ม ๆ ของขนมปังเรียกลูกค้าได้ดีไม่แพ้อาหารคาว โดยเฉพาะหากเป็นเมนูขนมปังปิ้ง กลิ่นหอมของเนย นม และยีสต์

4.       แฮมเบอร์เกอร์ดำต้องขอบอกเลยว่าเมนูนี้มันได้มาจากฝั่งญี่ปุ่นนู้น!! ที่หันมาทำอะไรแปลกๆต้อนรับวันฮาโลวีนอย่างการทำให้แฮมเบอร์เกอร์กลายเป็นสีดำ ซึ่งแน่นอนว่าพี่ไทยก็ไม่พลาดเอามาลองทำดูบ้าง และด้วยความที่คนไทยเห็นอะไรแปลกๆใหม่ๆไม่ได้ ต้องไปลองชิมลอง

5.       ซาลาเปาลาวาเมนูนี้เริ่มมาจากที่เราไปกินมาจากต่างประเทศก่อน แล้วจู่ๆมันก็แพร่ขยายมายังบ้านเรา และแน่นอนด้วยนิสัยการเห่อของใหม่ ก็ทำเอาซาลาเปาลาวาดังเป็นพลุแตกภายในไม่ถึงเดือน ด้วยจุดขายคือการบิซาลาเปาออกมา และข้างในจะเป็นไส้(หวาน)ย้อยๆออกมาชวนน่ากิน

6.       วาฟเฟิลปลาสอดไส้ไอศกรีมโยเกิร์ตมาถึงขนมที่กำลังเป็นที่ฮอตฮิตในขณะนี่ ที่เพิ่งมาเปิดขายในบ้านเราได้ไม่นาน นั่นก็คือร้าน Cafe Aboong ที่ส่งตรงมาจากเกาหลีนั่นเอง ด้วยความที่รวมของอร่อยไว้ถึง 3 อย่าง ทั้งวาฟเฟิลรูปปลาตัวโต ไส้คัสตาร์ดหรือถั่วแดง และซอฟท์ครีมรสโยเกิร์ต

7.       มาการองเป็นขนมที่ไม่รู้ใครเรียกผิดเรียกถูกยังไงแหละ ด้วยความที่มันบินมาไกลจากฝรั่งเศสจึงไม่น่าแปลกที่ชื่อมันจะออกเสียงลำบากสักหน่อย แต่เรื่องการออกเสียงนี่ไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นมันอยู่ที่เจ้าขนมสุดหวานเนี่ยฮิตติดตลาดจนกระทั่งมีขายแทบจะทุกที่ตั้งแต่ราคาแพงสุดๆ 

8.       ขนมโมจิคือขนมเทศกาลปีใหม่ของชาวญี่ปุ่นที่เอาแป้งข้าวเหนียว หรือข้าวญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง มาทำ ซึ่งเป็นข้าวที่มีโปรตีนสูงกว่าข้าวทั่วไป ส่วนในบ้านเราก็จะมีโมจิสูตรที่อาจไม่ใช่ต้นตำรับแต่ก็อร่อยเหมือนกันกับสารพัดไส้ตามร้านขนมหวานและร้านอาหารญี่ปุ่น รวมถึงร้านของฝาก จนขนมโมจิของญี่ปุ่นได้กลายมาเป็นขนมหวานของฝากจากจังหวัดนครสวรรค์ไปเรียบร้อยแล้ว

9.       คุกกี้ในกล่องตามซูเปอร์มาร์เก็ตที่มักกลายมาเป็นของฝาก ของขวัญวันปีใหม่ที่ท้อปฮิตมาหลายสิบปีในบ้านเรา รสนมเนยและความร่วนของคุกกี้คือเสน่ห์ในความอร่อยอันคลาสสิค นี่ก็อีกค่ะที่ต้องทานร่วมกับกาแฟสักแก้วแล้วจะหยุดไม่ได้ 

10.    ขนมหวานที่แทบจะกลายเป็นขนมไทยไปแล้ว เพราะมีชาวอินเดีย หรือแขกจากประเทศละแวกชาวแขกเข้ามาทำมาหากินในบ้านเรายาวนาน โดยอาชีพสุดฮิตของพวกเขาก็คือ รถเข็นขายโรตี จากเมื่อก่อนที่มีแค่ไส่ไข่หรือไม่ใส่ไข่ แล้วโรยหน้าด้วยนมข้นหวานกับน้ำตาล มาถึงปัจจุบัน โรตีสารพัดรสชาติที่เลือกสรรค์ได้ ทำให้ขนมหวานคลาสสิคข้างทางกลายมาเป็นขนมหวานมากออฟชั่นพอ ๆ กับเครปหวานตามห้างสรรพสินค้า ส่วนความอร่อยก็ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่ากันด้วยซ้ำ 




ที่มา:http://www.tnews.co.th/html/content/122867/
        http://www.cosmenet.in.th
        http://money.kapook.com/view130043.html

วัยรุ่นไทยกันแบรนด์เนม

วัยรุ่นไทยกับแบรนด์เนม
                   ปัญหาค่านิยมแบบบริโภคนิยมอย่างฟุ่มเฟือยในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทย ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง เพราะวัยรุ่นส่วนใหญ่ชอบที่จะใช้ของแบรนด์เนมแต่ไม่มีรายได้เป็นของตัวเองเพราะคิดว่าการที่มีสินค้าแบนรนด์เนมใช้เป็นการบ่งบอกฐานนะทางสังคมไปอีกทางหนึ่งเช่นเดียวกัน แต่ ก็มีส่วนน้อยของคนในสังคมเท่านั้นที่ เป็นบริโภคนิยม ดังนั้น คนอีกกลุ่มหนึ่งจึงต้องเข้าไปพึ่งพาสินค้าเลียนแบบ และสินค้ามือสองกัน เพราะนอกจากจะไม่สามารถเลือกซื้อสินค้าได้เพราะราคาแพงแล้ว  สินค้าบางอย่างก็ไม่เหมาะสำหรับเขาเหล่านั้น การที่มีสินค้าเลียนแบบจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและเป็นที่นิยมของวัยรุ่นไทยเป็นอย่างมากอย่างไรก็ตามท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหลาย เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาของวัยรุ่นก็คือ ภาพสะท้อนของปัญหาสังคมไทยนั่นเอง





ที่มา:http://sd-group2.blogspot.com/2012/12/53241691.html